หน้าที่กองคลัง

กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ–จ่ายเงินงบประเภทงานเกี่ยวกับการเงินการเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินการนำส่งเงินการฝากเงินการตรวจเงินอบต. รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆการเบิกตัดปีการขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณการหักภาษีและนำส่งรายการเงินคงเหลือประจำการรับและจ่ายขาดเงินสะสมของอบต. การยืมเงินทดลองราชการการจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินการเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระการจัดเก็บภาษีการประเมินภาษีการเร่งรัดจัดเก็บรายได้การพัฒนารายได้การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมายแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งานคือ

งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานรับเงิน

- เบิกจ่ายเงิน

- งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน

- งานเก็บรักษาเงิน

งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานการบัญชี

- งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย

- งานงบการเงินและงบทดลอง

- งานงบแสดงฐานะทางการเงิน

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานภาษีอากรค่าธรรมเนียมและค่าเช่า

- งานพัฒนารายได้

- งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ

- งานทะเบียนเบิกควบคุมและเร่งรัดรายได้

- แผนที่ภาษี

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

- งานทะเบียนทรัพย์สิน

- งานพัสดุ

- งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

 กองคลัง - คู่มืออบต.

     กองคลังมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่ายการรับการนำส่งเงินการเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงินการตรวจสอบใบสำคัญฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนเงินบำเหน็จเงินบำนาญเงินอื่นๆงานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงินการจัดสรรเงินต่างๆการจัดทำบัญชีทุกประเภททะเบียนคุมรายได้และรายจ่ายต่างๆการควบคุมการงานทำงบทดลองประจำเดือนประจำปีงานเกี่ยวกับการพัสดุของอบต.หนองเมืองงานสถิติการคลังงานพัฒนารายได้งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

กำหนดการยื่นแบบชำระภาษี

     1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยื่นแบบระหว่างเดือนเมษายนของทุกปี

     2. ภาษีป้ายยื่นแบบระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี

 ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

1.การสำรวจรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

   •    วิธีการสำรวจรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง      

         1.1 วัดขนาดของที่ดิน (ตร.ว.)      

         1.2 วัดขนาดของสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดิน (ตร.ม.)      

         1.3 สำรวจประเภทลักษณะและอายุของสิ่งปลูกสร้าง (ตึก,ครึ่งตึกครึ่งไม้,ไม้)

2.การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง    

2.1 ปิดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า30 วัน   

 2.2 ต้องแสดงประเภทจำนวนขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง     

2.3 ส่งข้อมูลให้ผู้เสียภาษีแต่ละราย

3.การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง     

3.1 กรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ส่งราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดให้อปท. ภายใน30 วันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้ราคาประเมิน     

3.2 อปท.ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์และประกาศอัตราภาษีก่อนวันที่1 กุมภาพันธ์ของปี     

3.3 นำราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุดคูณด้วยอัตราภาษีตามการใช้ประโยชน์ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนภาษีที่ต้องเสีย     

3.4 อปท. แจ้งการประเมินโดยส่งแบบประเมินให้ผู้เสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์

4.การชำระภาษี     

4.1 ผู้เสียภาษีชำระภาษีภายในเดือนเมษายนณที่ทำการหรือสำนักงานของอปท. หรือโดยวิธีอื่นเช่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือชำระผ่านทางธนาคาร     

4.2 ผู้เสียภาษีอาจขอผ่อนชำระภาษีเป็นงวดๆงวดละเท่าๆกันได้       

 4.3 กรณีอปท. ประเมินภาษีผิดพลาดมีอำนาจทบทวนการประเมินได้

การยื่นแบบภาษีป้าย

รวมระยะเวลาการให้บริการ (ขึ้นอยู่กับเอกสารที่เตรียมมา) 5 นาที

ขั้นตอนการให้บริการ

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมเอกสารประกอบ

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร

3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงิน (ภ.ป.7)

เอกสารประกอบการพิจารณา

1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประชาชน

2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายปีที่ผ่านมา (ภ.ป.7)

3. เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับป้าย

4. ขนาดของป้าย

5. สำเนาทะเบียนบ้าน

6. สำเนาโฉนดที่ดิน