สภาพทั่วไป

 

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธ

 

“ตราสัญลักษณ์ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธ”



องค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลพระพุทธ ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธ   เมื่อปีพุทธศักราช 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นส่วนราชการส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธ   ได้ประกาศปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตามมติเห็นชอบของ ก.อบต.จังหวัดนครราชสีมา ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2551 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2551

 ประวัติความเป็นมา

เหตุที่ได้ชื่อว่า “บ้านพระพุทธ” เพราะเมื่อสมัยก่อนลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่ามีโจรผู้ร้ายออกปล้นบ้านเรือนราษฎรในละแวกนี้เป็นประจำ บางครอบครัวก็หนีไปอยู่ที่อื่น บางครอบครัวก็ตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านนี้ และชาวบ้านต่างบนบานศาลกล่าวไปต่างๆ นานา พออยู่ๆ ก็มีพระผุดขึ้นมากลางหมู่บ้าน จึงทำให้ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ต่างตกตะลึงและให้ความเคารพนับถือมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียกชื่อบ้านว่า “บ้านพระผุด” และต่อมาการออกเสียง หรือสำเนียงต่างๆ เพี้ยนไปจากเดิมเป็น “บ้านพระพุทธ” มาจนถึงปัจจุบันนี้

ตำบลพระพุทธเป็นตำบล 1 ใน 5 ตำบลของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเดิมขึ้นกับตำบลท่าช้างและกิ่งอำเภอท่าช้าง ได้แยกเป็นตำบลพระพุทธ ยุบกิ่งอำเภอท่าช้างไปขึ้นอำเภอจักราช ต่อมาปีพ.ศ. 2535 จึงแยกเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติมาจนถึงปัจจุบัน

 ข้อมูลทั่วไป

(1) ที่ตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธตั้งอยู่เลขที่ 142 หมู่ที่ 12 บ้านน้ำไหล ตำบลพระพุทธ  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยตำบลพระพุทธ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของอำเภอเฉลิมพระเกียรติและอยู่ห่างจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติเป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร

(2) เนื้อที่ ( แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่)

ตำบลพระพุทธ มีพื้นที่ทั้งสิ้น ประมาณ 22 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,750  ไร่         

(3)   ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ของตำบลพระพุทธส่วนใหญ่มีลักษณะราบเรียบ ถึงค่อนข้างราบเรียบใช้ทำนา ส่วนสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ใช้ปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้นและพืชผัก มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตลอดแนวทางทิศตะวันออกของพื้นที่

(4)   อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลหนองยางและ ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา  
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลพะเนา และตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

 

           

                                

(5) พื้นที่และการใช้ประโยชน์

ข้อมูลจากสำนักสำรวจที่ดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ปี 2551 พบว่าในตำบลพระพุทธมีการใช้ที่ดิน ดังนี้

1) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ประมาณ 1,934 ไร่ หรือร้อยละ 12.84 ของเนื้อที่ตำบล ซึ่งประกอบไปด้วยชุมชนและสถานที่ราชการ
2) พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ประมาณ 11,731 ไร่ หรือร้อยละ 77.87 ของเนื้อที่ตำบลที่สำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
   - นาข้าว มีเนื้อที่ประมาณ 11,083 ไร่ หรือร้อยละ 73.57 ของเนื้อที่ตำบล
   - มันสำปะหลัง มีเนื้อที่ประมาณ 518 ไร่ หรือร้อยละ 3.44 ของเนื้อที่ตำบล
   - ยูคาลิปตัส มีเนื้อที่ประมาณ 48 ไร่ หรือร้อยละ 0.32 ของเนื้อที่ตำบล
   - สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่ตำบล
3) พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของเนื้อที่ตำบล ซึ่งเป็นป่าสมบูรณ์
4) พื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 493 ไร่ หรือร้อยละ 3.27 ของเนื้อที่ตำบล ซึ่งประกอบไปด้วยแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง
5) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ประมาณ 875 หรือร้อยละ 5.81 ของเนื้อที่ตำบล ซึ่งเป็นไม้ละเมาะ

จากการวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินของตำบล จะเห็นว่ามีการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่เกษตรกรใช้ทำนาข้าว พื้นที่บางส่วนเป็นป่าสมบูรณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนต่อไป

เส้นทางคมนาคม

(1) ตำบลพระพุทธมีถนนทางหลวงที่ผ่านตำบลและภายในตำบล คือ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226  ถนนเพชรมาตุคลา ตอนนครราชสีมา – สุรินทร์
(2) ตำบลพระพุทธมีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา-อุบลราชธานี  ผ่านสถานีรถไฟบ้านพระพุทธ จำนวน 1 แห่ง
(3) ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านและถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างหมู่บ้านจำนวน …51…สาย
(4) ถนนลาดยาง   จำนวน …3… สาย  
(5) ถนนดินลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง จำนวน ...37... สาย
(6) ถนนดินเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน   จำนวน   ...-... สาย

การโทรคมนาคม สถานีโทรคมนาคม(องค์การโทรศัพท์) จำนวน 1 แห่ง สถานีขยายสัญญาณโทรคมนาคม จำนวน 2 แห่ง   และตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 ตู้  ดังนี้

(1) บ้านกันผม หมู่ที่ 1 จำนวน 2 ตู้ บริเวณกลางบ้าน, ทางเข้าวัดเจริญสุคันธาราม
(2) บ้านพระพุทธ หมู่ที่ 4 จำนวน 4 ตู้ บริเวณศาลาพักผู้โดยสาร 2 ตู้, บริเวณบ้านผู้ใหญ่เทียบ, สี่แยก   
(3) บ้านพระพุทธ หมู่ที่ 5 จำนวน 1 ตู้ บริเวณตรงข้ามบ้าน ผอ.ทองอยู่        
(4) บ้านหมูสี หมู่ที่ 6 จำนวน 1 ตู้ บริเวณสามแยกร้านค้า   
(5) บ้านหนองเรือ หมู่ที่ 11 จำนวน 1 ตู้ บริเวณบ้านผู้ใหญ่วัน
(6) บ้านน้ำไหล หมู่ที่ 12 จำนวน 1 ตู้ บริเวณหน้าป้อมตำรวจ


การไฟฟ้า เขตตำบลพระพุทธ เป็นชุมชนกึ่งชนบท ระบบการไฟฟ้าได้รับบริการกระแสไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวนครัวเรือนที่ได้รับบริการกระแสไฟฟ้า มีดังนี้
                                  

หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือนที่ได้รับบริการกระแสไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
1 บ้านกันผม 226
2 บ้านฝั่งตะคอง 46
3 บ้านพระพุทธ 201
4 บ้านพระพุทธ 403
5 บ้านพระพุทธ 151
6 บ้านหมูสี 114
7 บ้านด่านกะตา 85
8 บ้านด่านกะตา 126
9 บ้านเขว้า 74
10 บ้านบุตานนท์ 122
11 บ้านหนองเรือ 73
12 บ้านน้ำไหล 130

 

ระบบประปามีระบบประปาให้บริการ 2 ระบบ ดังนี้

(1) ระบบประปาหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 3,4,5,6,7,8,9,11,12
(2) ระบบประปาส่วนภูมิภาค ได้แก่ หมู่ 1,2,4,5,12